ศูนย์จำลองแผ่นดินไหว (FUJINOEKI) หรือ (Earthquake
Simulation Center)
เป็นตัวแทนของการส่งข้อความไปถึงทุกคนให้รับรู้ถึงผลกระทบจากภัยพิบัติแผ่นดินไหวและการระเบิดของภูเขาไฟ
ซึ่งตั้งอยู่บริเวณใกล้ ๆ กับเขตภูเขาไฟฟูจิ Kawaguchikoจังหวัด
Yamanashi เปิดให้เข้าชมทุกวันจันทร์ถึงวันอาทิตย์
ตั้งแต่เวลา 09.00 – 17.00 น.
ถ่ายจากด้านหน้าภัตตาคารอาหารญี่ปุ่น
วิวของภูเขาไฟฟูจิ ในระยะไกลสวยงามมาก
ภายในมีห้องจัดแสดงข้อมูลการประทุของภูเขาไฟจากทุกมุมโลก
ห้องแสดงภาพแผ่นดินไหว ห้องแสดงเหตุการณ์หลังแผ่นดินไหว ห้องจำลองแผ่นดินไหว
ห้องอุทกภัย ห้องเขาวงกตกระจก
นอกจากนี้ยังมีโซนภาพถ่ายกับภูเขาไฟฟูจิ โซนความรู้ต่าง ๆ
และโซนช้อปปิ้งสินค้างานฝีมือของญี่ปุ่นต่าง ๆ เช่น มีดแบบดั้งเดิม
ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา เครื่องสำอาง และของฝากอีกมากมาย
ในวันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม 2561
เวลา 14.00 – 15.00 น. ตามเวลาของประเทศญี่ปุ่น
คณะผู้เข้ารับการอบรมได้เดินทางไปศึกษาดูงาน ณ ศูนย์จำลองแผ่นดินไหว โดยมีวิทยากรซึ่งเป็นคนไทยได้นำชมนิทรรศการด้วยการบรรยายเป็นภาษาไทย
วิทยากรผู้บรรยายได้อธิบายว่า
ภายในศูนย์จำลองแผ่นดินไหวดังกล่าวแบ่งออกเป็น 2 โซน ได้แก่ โซนแผ่นดินไหว และโซนขายของปลอดภาษี ด้านหน้าทางเข้าจะมีรูปปั้นของนักเดินทางชายหญิงคู่หนึ่งในชุดแต่งกายยุคเอโดะ
มีแท่นจำลองขนาดของการสั่นสะเทือนโดยให้อาสาสมัคร 2 คนขึ้นไปกระโดดบนแท่นกลม
ซึ่งเมื่อกระโดดแล้วจะปรากฏขนาดของความแรงของการสั่นสะเทือนอยู่บนจอภาพที่อยู่ทางด้านหลังแท่นจำลอง
วิทยากรได้บรรยายให้ความรู้ว่าแผ่นดินไหวเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ คือ
1.
เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
2.
เกิดจากการกระทำของมนุษย์
การเกิดแผ่นดินไหวตามธรรมชาติจะมีความรุนแรงมาก
คือเกิดจากการเคลื่อนของเปลือกโลก
การเกิดสึนามิที่เมืองไทยเมื่อปี
พ.ศ.2547
ซึ่งเกิดความสูญเสียอย่างมหาศาลมีผู้คนสูญหายและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
ก็เป็นการเกิด After Shockจากการเกิดแผนดินไหวอย่างรุนแรงโดยมีศูนย์กลางอยู่บริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะสุมาตรา
ประเทศอินโดนีเซีย
ที่ผ่านมากประเทศญี่ปุ่นได้มีการเกิดภูเขาไฟระเบิดมาแล้ว
49 ลูก
การทรุดตัวของชั้นผิวโลกเกิดจากผลกระทบที่มนุษย์ทำขึ้นได้แก่
-
การขุดเจาะน้ำมัน
เหมืองแร่ การทดลองอาวุธนิวเคลียร์ การกระโดดของมนุษย์
-
มนุษย์เราเป็นผู้ทำให้พื้นดินเกิดความสั่นสะเทือน
แค่เพียงการกระโดดก็ทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้
ประเทศญี่ปุ่นซึ่งตั้งอยู่ในแนวรอยเลื่อนของเปลือกโลกที่เรียกกันว่า
“วงแหวนแห่งไฟ” (Pacific Ring of Fire หรือ the Ring of fire) นั้นได้ส่งผลให้ญี่ปุ่นต้องเผชิญกับการเกิดแผ่นดินไหวนับครั้งไม่ถ้วนทั้งแผ่นดินไหวบนแผ่นดินและแผ่นดินไหวใต้พื้นมหาสมุทร
โดยเฉพาะการเกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดที่เกิดขึ้นใต้พื้นมหาสมุทรส่วนใหญ่จะส่งผลให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิตามมา
ซึ่งสร้างความเสียหายต่อชีวิต และ ทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก
โดยเฉพาะชายฝั่งทะเลด้านมหาสมุทรแปซิฟิกของญี่ปุ่น ย้อนไปเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 (ค.ศ.2011) ได้มีการเกิดแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงในประเทศญี่ปุ่น
วัดความสั่นสะเทือนได้ 9 ริกเตอร์ หลังเกิดแผ่นดินไหวทำให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิซัดถล่มเมืองชายฝั่งของญี่ปุ่นทำให้บ้านเรือนพังพินาศประชาชนได้รับบาดเจ็บ
ล้มตาย และ สูญหายกันเป็นจำนวนมาก
แรงสั่นสะเทือนในครั้งนี้ทำให้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีปัญหาในระบบหล่อเย็นและเกิดระเบิดจนมีสารกัมมันตภาพรังสีรั่วไหล
ทำให้ทางการของญี่ปุ่นต้องอพยพประชาชนในพื้นที่โดยด่วน
นับเป็นภัยพิบัติที่ร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น
เหตุการณ์ภัยพิบัติครั้งนี้นับเป็นภัยธรรมชาติที่สร้างความเสียหายมากที่สุดเท่าที่เคยมีมาโดยมีผู้เสียชีวิตในครั้งนั้น 15,858 คน (ร้อยละ 92 เสียชีวิตเนื่องจากการจมน้ำ)
สูญหาย 3,057 คน และ บาดเจ็บ 5,364 คน
อาคารเสียหายทั้งหลัง 111,044 อาคาร เสียหายครึ่งหลัง 71,936
อาคาร และ เสียหายบางส่วน 320,118 อาคาร
รวมทั้งยังมีวิกฤตินิวเคลียร์ที่ส่งผลกระทบในวงกว้าง
จากข้อสรุปของทีมนักวิจัยจากหน่วยงานวิจัยท่าเรือ และท่าอากาศยานที่ได้ทำการศึกษาโครงสร้างชายฝั่งเป็นระยะทางประมาณ
600 กิโลเมตรตามชายฝั่ง รวมทั้งงานทดสอบ
และงานวิเคราะห์หลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิ
สิ่งที่พบสำหรับการสั่นสะเทือนของพื้นดินจากแผ่นดินไหวครั้งนี้ก็ คือ
มีช่วงระยะเวลาการสั่นที่ยาว และ ความถี่ของการสั่นสูง
ดังนั้นระดับความเสียหายของโครงสร้างเนื่องจากการสั่นสะเทือนจึงค่อนข้างน้อย
การเกิดแผ่นดินไหวของญี่ปุ่น
หากเกิด 3 ริกเตอร์
ถือว่าเป็นเหตุการณ์ปกติธรรมดา 4 ริกเตอร์
จะมีการสั่นสะเทือน หากเกิด 5 ริกเตอร์
จะมีการสั่งอพยพประชาชนไปในที่ปลอดภัย จะมีระบบการแจ้งเตือนที่ทันสมัยและทันเหตุการณ์เป็นแอพพลิเคชั่นทางโทรศัพท์มือถือหรือ mobile
ซึ่งประชาชนในญี่ปุ่นทุกคนจะติดตั้งแอพพลิเคชั่นนี้ไว้เพื่อรับการแจ้งเตือน
ดังนั้น
หากเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวขึ้นจริง สิ่งที่ทุกคนควรปฏิบัติคือต้องมีสติ
หากสิ่งของมาป้องกันที่ศีรษะ เช่น ยกกระเป๋าขึ้นป้องกันศีรษะ
รีบหนีออกนอกตึกหรืออาคารให้ได้ภายใน 2 นาที โดยต้องมีสติในการหนีออกไปนอกอาคารเพื่อไปอยู่ในที่โล่งแจ้ง เช่น
สวนสาธารณะ ซึ่งหากเกินเวลา 2
นาทีแล้วยังไม่สามารถออกไปได้ทันให้รีบไปหลบในห้องอาบน้ำ
ซึ่งประเทศญี่ปุ่นจะมีการสร้างห้องอาบน้ำด้วยไฟเบอร์อย่างดีซึ่งสามารถป้องกันอันตรายจากแผ่นดินไหวได้ถึง
90% ซึ่งที่เกิดต่อจากนั้นคือไฟจะดับและอาจมีการถล่มของตึก
เกิดไฟไหม้ขึ้นได้
จากนั้นวิทยากรได้ให้ผู้เข้ารับการอบรมลองเข้าไปในห้องจำลองที่มีไฟดับมืดสนิท
และเป็นห้องจำเลยการเกิดแผ่นดินไหว และให้ผู้เข้ารับการอบรมเดินออกจากห้องผ่านห้องเขาวงกตกระจกโดยต้องใช้สมาธิในการสังเกตว่าจะเดินไปชนกระจกหรือไม่
ซึ่งผู้เข้ารับการอบรมต้องใช้มือยื่นออกไปเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการชนกับกระจก
จนออกไปสู่ห้องด้านนอกได้จากนั้นเป็นการกล่าวขอบคุณและมอบของที่ระลึกให้แก่วิทยากรที่มาบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้าอบรมในครั้งนี้
และเชิญผู้เข้ารับการอบรมเข้าชมและซื้อสินค้าที่ผลิตจากดินภูเขาไฟ
รวมทั้งสินค้าที่น่าสนใจอื่น ๆ
เนื่องจากระยะเวลาในการเยี่ยมชมสถานที่ดังกล่าวมีค่อนข้างน้อยประมาณ
30 – 40 นาที
เพราะในวันดังกล่าวมีคณะอื่นที่รอเข้าเยี่ยมชมอีกหลายคณะรวมทั้งเด็กนักเรียนชาวญี่ปุ่นซึ่งมาทัศนศึกษาด้วยทำให้ผู้เข้ารับการอบรมไม่สามารถซักถามหรือเยี่ยมชมนิทรรศการในส่วนอื่น
ๆ ได้ทั่วถึง และที่สำคัญคือไม่อนุญาตให้ผู้เข้าเยี่ยมชมถ่ายภาพภายในนิทรรศการได้
จากการดูงานศูนย์จำลองแผ่นดินไหว (FUJINOEKI) ครั้งนี้
ทำให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้กับการใช้ชีวิตในประเทศไทยได้
โดยรัฐบาลควรให้ความสำคัญกับการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทย
โดยมีการจัดตั้งเทคโนโลยีเป็นแอพพลิเคชั่นไลน์เพื่อแจ้งเตือน
หากมีการเกิดแผ่นดินไหวขึ้น โดยจัดให้มีการสอนและฝึกอบรมให้เด็กนักเรียนหรือประชาชนผู้สนใจได้เรียนรู้ว่าหากเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวหรือภัยพิบัติอย่างร้ายแรงขึ้นควรต้องปฏิบัติตนอย่างไร
รวมทั้งการปฏิบัติตัวเพื่อลดหรือป้องกันการเกิดแผ่นดินไหวหรือภัยพิบัติอื่นที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ขึ้นเพื่อลดความสูญเสียทั้งชีวิต
เศรษฐกิจ สังคม ระบบคมนาคม
อุตสาหกรรมการเกษตรและการท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อมของประเทศชาติต่อไป